ReadyPlanet.com
dot dot




อยากตาย


ฆ่าตัวตาย


 


 
                มนุษย์มีสัญชาติญาณการต่อสู้เพื่อมีชีวิตรอด ความก้าวร้าว ฆ่าสัตว์อื่นเพื่อใช้เป็นอาหาร พฤติกรรมของมนุษย์ที่แตกต่างจากสัตว์อื่น คือ มนุษย์มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย โดยมีปัจจัยทางด้านต่าง ๆ ไม่ว่า ปัจจัยวัฒนธรรม เพศ ศาสนา การฆ่าตัวตาย เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในทุก ๆ ประการจากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ทุกวัน มักจะสัมพันธ์กับปัญหาทางด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาเรื่องการฆ่าตัวตาย เป็นปัญหาที่ได้รับการปรึกษาบ่อย โดยมีสาเหตุที่มักจะวินิจฉัยบ่อย ๆ ได้แก่ โรคทางอารมณ์ โรคติดสารเสพติด โรคบุคลิกภาพแปรปรวน โรคจิตเภท และโรควิตกกังวล

 
ผู้ที่คิดห่าตัวตาย ต้องป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเสมอไป หรือไม่?
                ผู้ที่มีความทุกข์ หรือความกังวลบ่อย ๆ มักจะเบื่อท้อแท้ ไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดอยากตาย แต่ส่วนใหญ่ในระยะแรก ๆ มักจะไม่มีกำลัง หรือจะคิดไม่ออกว่าจะคิดฆ่าตัวตายอย่างไร
                หลาย ๆ ครั้ง ที่พบว่า ความคิดฆ่าตัวตาย เกิดขึ้นได้ในคนทั่วไป ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคทางสุขภาพจิตมาก่อน แต่เป็นผลที่เกิดจากการตัดสินใจวู่วาม หรือช่วงเวลาที่การยับยั้งช่างใจไม่ดี เช่น ขณะเมาสุรา เครียดจัดๆ หรือโกรธจัดๆ หากเลือกวิธีที่รุนแรงก็จะเสียชีวิตได้ในที่สุด

 
จะสังเกตพฤติกรรม ของผู้ที่มีแนวโน้มฆ่าตัวตายอย่างไร?
                คำพูด-อาจจะพูดในทำนองน้อยใจ ว่าตนเองไม่มีใครรัก ตนเองไม่มีคุณค่า ตนเองเป็นภาระของผู้อื่น จนกระทั่ง พูดว่าหากตนเองไม่อยู่แล้ว คนอื่นคงมีความสุข จนบอกว่าอยากฆ่าตัวตาย หรือเขียนจดหมายลาตาย
                พฤติกรรม-ผู้คิดฆ่าตัวตาย มักมีภาวะวิตกกังวล และซึมเศร้าร่วมด้วย ทำให้นอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ ทานอาหารได้น้อยลง จนดูซูบ หรือน้ำหนักตัวลดลง อาจจะบ่นว่าไม่สบาย ไม่ค่อยมีแรง
                อารมณ์-ผู้คิดฆ่าตัวตาย จะมีอารมณ์เศร้า ดูเหงา ๆ ซึม ๆ แยกตนอยู่คนเดียว บางครั้งอาจจะหงุดหงิด โมโหง่าย สมาธิสั้น ผิดปกติไม่จากเดิม
                อื่นๆ-เนื่องจากพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย เป็นภาวะวู่วาม บางครั้งอาจจะไม่แสดงสัญญาณเตือนมาก่อน และในบางกรณี จะสัมพันธ์กับปัญหาด้านบุคลิกภาพ และปัญหาด้านความสัมพันธ์ 

 
การถามเรื่องความคิดฆ่าตัวตาย จะกระตุ้นให้คนอยากฆ่าตัวตายขึ้นมาหรือไม่?
คำถามเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการประเมินความเสี่ยง และสามารถป้องกันการเกิดการฆ่าตัวตายได้ ไม่ได้เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น  ผู้ที่กำลังคิดจะฆ่าตัวตาย เมื่อมีคนถามถึงเรื่องนี้จะรู้สึกได้ว่ามีคนกำลังเข้าใจสถานการณ์ของตนเอง นำไปสู่การช่วยเหลือ
 
เราจะดูแลรักษาผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายอย่างไร?
                หลังจากการประเมินเรื่องความเสี่ยงของการฆ่าตัวตายแล้ว โดยทั่วไประยะแรก มักจะรักษาทางร่างกายก่อน เช่นล้างท้องถ้ากินสารพิษ หรือทำแผลห้ามเลือดในรายที่ทำร้ายร่างกายตนเอง เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น พ้นขีดอันตรายแล้ว จึงเริ่มประเมินถึงปัญหาของการฆ่าตัวตาย    ถ้าผู้ป่วยมีความพยายามฆ่าตัวตาย ให้ประเมินว่ามีการวางแผน หรือทำไปเพราะภาวะวู่วาม และใช้วิธีการที่ใช้รุนแรงถึงเสียชีวิตหรือไม่
                กรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง มักพบในผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือรายที่อาการดีขึ้นคิดแก้ปัญหาชีวิตได้ มีญาติผู้ดูแลได้อย่างใกล้ชิด หลังจากแพทย์ได้รับการตรวจประเมิน และให้การรักษาแล้ว สามารถให้ผู้ป่วยกลับไปดูแลกันที่บ้าน และนัดมาตรวจในวันต่อไป
                กรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายสูงต้องช่วยเหลือด้วยการให้คำปรึกษาในภาวะวิกฤต หรือทำจิตบำบัดหรือแพทย์อาจต้องรับตัวไว้รักษาที่โรงพยาบาลก่อน 

 
คนไข้ที่ฆ่าตัวตายแบบไหนจึงจำเป็นต้องรักษาต่อในโรงพยาบาล?
แพทย์จะประเมินโดยความเสี่ยงของการฆ่าตัวตาย และความสามารถในการประคับประคองของครอบครัว ซึ่งเป็นการประเมินผู้ป่วยที่จำเพาะแต่ละราย เช่น
- ผู้ป่วยอาจจะเป็นอันตรายต่อตนเอง ยังมีความคิด และแนวโน้มจะฆ่าตัวตายตลอดเวลา
-ผู้ป่วยอาจเป็นอันตรายต่อผู้อื่น
-ประเมินดูความสามารถในการดูแลผู้ป่วยของครอบครัว

 
เมื่ออยู่ในโรงพยาบาลแล้วแพทย์จะรักษาอย่างไร?
-ที่โรงพยาบาลจะมีการเฝ้าระวัง ผู้ป่วยไม่ให้คลาดสายตา เป็นการเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ทุก 15 นาที หรือมีการใช้กล้องทีวีวงจรปิดเพื่อตรวจสอบตลอดเวลา และระมัดระวัง เครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ ทุกชนิด ที่ผู้ป่วยอาจจะนำไปใช้ในการทำร้ายตนเองได้   การรักษาจะเป็นดูแลทางจิตสังคม ผ่านการพูดคุยหรือกิจกรรมกลุ่ม ช่วยให้คนไข้เห็นคุณค่าของตนเอง เรียนรู้การแก้ปัญหาในแนวทางใหม่ มีความสุขในชีวิต เลิกคิดฆ่าตัวตาย
-ส่วนการรักษาเฉพาะทางของจิตแพทย์ เช่น
1.การใช้ยาต้านเศร้า ยามีกลไกการรักษาโดยเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้ลดพฤติกรรมจากความรู้สึกเศร้า วิตกกังวล ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น และสามารถลดความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายซ้ำ
2.รักษาด้วยไฟฟ้า โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือคิดจะฆ่าตัวตายตลอดเวลา ในบางครั้งเมื่อต้องการผลอย่างรวดเร็ว การรักษาด้วยไฟฟ้า เป็นการรักษาที่ได้รับรองถึงประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย
                จากนั้นจะนัดมาตรวจติดตามผลการรักษาหลังกลับบ้าน ซึ่งจำเป็น เพราะคนไข้มักจะมีอัตราเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายซ้ำสูงสุด คือ ช่วง 3 เดือนหลังจากการฆ่าตัวตาย

 

 




รอบรู้เรื่องสุขภาพจิตผู้ใหญ่

วิตกกังวล
เศร้าหลังคลอด
ถูกนอกใจ
โรคแพนิค (Panic)
อารมณ์แปรปรวน
วิกลจริต (Psychosis)
ติดบุหรี่
ติดเหล้า
ติดการพนัน



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509