นิสิตา ปิติเจริญธรรม
ชื่อผู้แต่ง
|
นิสิตา ปิติเจริญธรรม
|
ชื่อเรื่องภาษาไทย
|
วิเคราะห์ขบวนการยุติธรรมกรณีกระทำผิดทางเพศ
|
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
|
An analysis of justice process regarding sex crimes
|
ปีที่ดำเนินการ
|
2539
|
บทตัดย่อ
|
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาและศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินคดีในขบวนการยุติธรรมต่อกรณีกระทำผิดทางเพศ ศึกษาความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดทางเพศและศึกษาเหตุผลที่ส่งผู้กระทำทางเพศไปตรวจทางจิตเวช โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยหลายรูปแบบคือการศึกษานำร่อง การศึกษาคดีทางเพศ ณ สถานีตำรวจนครบาล 390 ราย และติดตามศึกษาในกลุ่มเดิมอย่างต่อเนื่องเพื่อทราบผลพิจารณาฟ้องคดีของอัยการตลอดจนผลการพิพากษาคดีของศาล นอกจากนี้ยังสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมสังเกตการสอบสวนคดีทางเพศของพนักงานสอบสวนตลอดจนศึกษาผู้กระทำผิดทางเพศที่ถูกส่งตรวจ ณ โรงพยาบาลนิติจิตเวช 22 ราย โดยใช้แบบบันทึก 3 ฉบับ เพื่อกำหนดขอบเขตการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละและค่าไคสแควร์ การวิจัยพบว่าคดีทางเพศจำนวนมาก ไม่เข้าสู่ระบบการดำเนินคดีเนื่องจากผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์ประกอบกับตำรวจมักไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีประนีประนอมตกลงจ่ายค่าเสียหายมากกว่าดำเนินคดีในส่วนที่ดำเนินคดีนั้นส่วนใหญ่อัยการจะพิจารณาไม่ฟ้อง คดีที่สั่งฟ้องส่วนใหญ่เป็นคดีทางเพศที่กระทำกับเด็ก หรือในคดีที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส มีการใช้อาวุธขู่เข็ญ มีผู้ร่วมกระทำมากกว่า 1 คน และในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ผลพิพากษาคดีของศาลต่อกรณีกระทำผิดทางเพศส่วนใหญ่ศาลกำหนดโทษตามกฎหมายกำหนดและบางรายศาลพิจารณาให้เพิ่มโทษ บรรเทาโทษ และรอการลงโทษ ความผิดทางเพศอาจจัดอยู่ในความผิดทางกฎหมายหลายประเภท เช่น ความผิดเกี่ยวกับเพศโดยตรง ความผิดเกี่ยวกับเพศร่วมกับความผิดอื่น ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง เช่น พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร ในความผิดลหุโทษ เช่น กระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัล จากการวิจัยพบว่าบุคลากรในขบวนการยุติธรรม ยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาส่งผู้กระทำผิดไปรับตรวจทางจิตอย่างเป็นระบบ
|
|
วิทยานิพนธ์นิสิตในเวลาราชการรุ่น 7
|