การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหารูปแบบกระบวนการช่วยเหลือเด็กที่ถูกล่วงเกินทางเพศที่มีอยู่ในสังคมไทยศึกษาแนวคิดและวิธีการปฎิบัติของกลุ่มวิชาชีพที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือเด็กที่ถูกล่วงเกินทางเพศ และหาแนวทางช่วยเหลือที่เหมาะสมในมุมมองของนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 30 คนซึ่งได้แก่ นักสังคมสงเคราะห์นักจิตวิทยา นักกฎหมาย แพทย์ทั่วไป(กุมารแพทย์ สูตินรีแพทย์ นิติแพทย์ นิติจิตแพทย์) จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ปละตำรวจ ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ตรงในการช่วยเหลือ เด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดยใช้เดลฟายเทคนิค
ผลการวิจัยพบว่า การช่วยเหลือเด็กที่ถูกล่วงเกินทางเพศในปัจจุบันยังไม่เหมาะสม นักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือ ซึ่งมีขั้นตอนใหญ่ 5 ขั้นตอนคือ
1.การดำเนินการทางกฎหมายโดยรวม:การหาข้อเท็จจริง การสืบสวน สอบสวน
2.การกระทำที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
3.การตรวจบันทึกหลักฐานทางสุขภาพกาย สุขภาพจิตและบำบัดฟื้นฟู
4.การแยกเด็กไปยังสถานที่ปลอดภัยและติดตามดูแลเด็กหลังจากที่ได้รับการบำบัดฟื้นฟู
5.คุ้มครองเด็ก การส่งเด็กคืนสู่สังคมและการจัดการกับผู้ที่ล่วงเกินทางเพศต่อเด็กในขั้นตอนที่ 4 และ 5 มีความคิดเห็นสอดคล้องกันในหมู่นักวิชาชีพ ขณะที่ขั้นตอนที่ 1,2 และ 3 มีความไม่สอดคล้องกัน เช่น เรื่องเพศของผู้สัมภาษณ์ เรื่องกฎหมาย
ข้อสรุปแนวทางในการช่วยเหลือคือการจัดการโดยใช้ Mutidisciplinary Team โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ
|