ReadyPlanet.com
dot dot




อิงใจ จันทมูล

 

ชื่อผู้แต่ง

อิงใจ จันทมูล

ชื่อเรื่องภาษาไทย

ความชุกของโรคสมองเสื่อมและโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ

The prevalence of dementia and major depression in elderly in Roi-Et Province

ปีที่ดำเนินการ

2539

บทตัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราความชุกและปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคสมองเสื่อมและโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,707 คน ตามวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยผู้วิจัยและผู้ช่วยผู้วิจัย 4 ท่าน ซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการฝึกให้ใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง โดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธ์แห่งความสอดคล้อง กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดกรองด้วยแบบทดสอบสำหรับประเมินผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและแบบสัมภาษณ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าตามหลักเกณฑ์การวินิจฉัยโรคของ DSM-IV หลังจากนั้นจะได้รับการวินิจฉัยยืนยันโดยจิตแพทย์ผู้มีความชำนาญในเรื่องผู้สูงอายุตามหลักเกณฑ์การวินิจฉัยของโรคของ DSM-IV อีกครั้งหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า 1.อัตราความชุกของโรคสมองเสื่อม มีร้อยละ 3.2 เพศหญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคํญทางสถิติที่ระดับ .01 อายุมากขึ้น สถานภาพสมรสที่ไม่ใช่คู่ การไม่ได้รับการศึกษา การไม่เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ปัญหาการได้ยิน การมองเห็น และความไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2.อัตราความชุกของโรคซึมเศร้ามีร้อยละ 2.4 เพศหญิงและอายุมากขึ้นมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การไม่ได้รับการศึกษา ปัญหาการได้ยิน การมองเห็น ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ และอัมพฤกษ์/อัมพาต มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สถานภาพสมรสหย่า-หม้าย การเกษียณอายุ การอยู่ตามลำพัง ปัญหาวิงเวียนศีรษะ-นอนไม่หลับ-แผลในกระเพาะอาหาร-ความดันโลหิตสูง และความไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001




วิทยานิพนธ์นิสิตในเวลาราชการรุ่น 7

พยงค์ศรี ขันธิกุล
นุสรา นามเดช
กัลยา แซ่เอี้ยว
ดรุณี ภู่ขาว
นิสิตา ปิติเจริญธรรม
ภิญญารัตน์ ศักดิ์วัฒนเควิน



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509