ขวัญฤทัย อิ่มสมโภช
ชื่อผู้แต่ง
|
ขวัญฤทัย อิ่มสมโภช
|
ชื่อเรื่องภาษาไทย
|
ผลของศิลปะเพื่อการบำบัดต่อการเพิ่มการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ บ้านบางแค
|
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
|
The effect of therapeutic art on self-esteem of the elderly in Bangkae Home
|
ปีที่ดำเนินการ
|
2549
|
บทตัดย่อ
|
ศึกษาผลของศิลปะเพื่อการบำบัดต่อการเพิ่มการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค โดยเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ ในกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะเพื่อการบำบัด และได้รับข้อมูลการเพิ่มการเห็นคุณค่าในตนเอง กับการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ ในกลุ่มที่ได้รับข้อมูลการเพิ่มการเห็นคุณค่าในตนเองเพียงอย่างเดียว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุหญิงในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ บ้านบางแค จำนวน 30 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ตามเกณฑ์ในการคัดเข้าและเลือกจากผู้สูงอายุที่สมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 30 คน ทำการจับสลากจัดแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองจะได้เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะเพื่อการบำบัด ครั้งละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ระยะเวลา 5 สัปดาห์ รวมทั้งหมด 10 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ
แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินระดับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (GDS) แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง และกิจกรรมศิลปะเพื่อการบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเอง ของผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อน ระหว่างและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ ANCOVA และวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองก่อน ระหว่างและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ Repeated ANOVA ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่ากลุ่มทดลองมีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม จากผลการวิจัยสรุปว่า กิจกรรมศิลปะเพื่อการบำบัดสามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ ในการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ
|
Abstract
|
To compare self-esteem of elderly receiving therapeutic art plus self-esteem promoting information and that of elderly receiving self-esteem promoting information alone. The subjects of this study were elderly in Bangkae Home. The 30 elderly were chosen by purposive selection according to the inclusion criteria. They were divided into the experimental group and the control group, each with 15 subjects. The experimental group received therapeutic art according to the program of 1 hours per session, two times per week for 5 weeks, altogether 10 times. The data collection instruments consisted of demographic data about the elderly, The Geriatric Depression Scale (GDS), The Rozenberg Self-Esteem Scale, and the therapeutic art program. The ANCOVA and Repeated ANOVA were ultilized for data analysis. The findings of this study revealed that, after the experimental : the post-tests self-esteem scores for the experimental group were significantly higher than the pre-test scores (P<0.001), and the experimental group had statistically significantly higher self-esteem scores than the control group (P<0.01). In conclusion, therapeutic art could be used for promoting self-esteem in the elderly.
|
|
ิวิทยานิพนธ์นิสิตในเวลาราชการรุ่น 18
|