นฤมล ฝีปากเพราะ
ชื่อผู้แต่ง
|
นฤมล ฝีปากเพราะ
|
ชื่อเรื่องภาษาไทย
|
พฤติกรรมการเผชิญปัญหาเรื่องโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร
|
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
|
Coping behavior to obesity or overweight among secondary school grade 9 in Bangkok metropolis
|
ปีที่ดำเนินการ
|
2549
|
บทตัดย่อ
|
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเผชิญปัญหาเรื่องอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาเรื่องโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 701 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติเรื่องโรคอ้วน แบบสอบถามอัตมโนทัศน์ แบบวัดการเผชิญปัญหาของวัยรุ่น แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการลดน้ำหนัก และจำแนกกลุ่มตัวอย่างตามดัชนีมวลกาย ได้กลุ่มตัวอย่างที่มีโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independence t-test, Pearson correlation, multiple regression ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเผชิญปัญหาเรื่องโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน เหมาะสมปานกลาง 67.8% มีพฤติกรรมลดน้ำหนักไม่เหมาะสม 16.9% และพฤติกรรมการลดน้ำหนักเหมาะสมมาก 15.3% ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาเรื่องโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง เมื่อนำปัจจัยต่างๆ มาวิเคราะห์โดย Multiple regression พบว่าปัจจัยที่ยังคงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาเรื่องโรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ส่วนสูง
|
Abstract
|
The purpose of this cross-sectional descriptive study was coping behavior to obesity or overweight and factors associate with coping behavior to obesity or overweight among secondary school grade 9 in Bangkok Metropolis. The subjects were 701 secondary school grade 9. The research instruments were a demographic questionanaire, questionnaire about attitude of obesity or overweight, self-concept scale, questionnaire about weight loss behavior and adolescent coping scale (ACS) and with could describe by body mass index there would get the obesity or overweight sample group. The data analyzed be using descriptive statics, independence t-test, Pearson, multiple regression. The research finding indicated of coping behavior to obesity or overweight were appropriate at a medium level (67.8%). 16.9% and 15.3% of samples had low and high scores of coping behavior to obesity or overweight. The associated factors of coping behavior to obesity or overweight remained significant (p-value<0.05) were weight and height. The factors significantly predicted coping behavior to obesity or overweight after performing multiple regression analysis were height.
|
|
ิวิทยานิพนธ์นิสิตในเวลาราชการรุ่น 18
|