ReadyPlanet.com
dot dot




รวิวรรรณ พลวิชัย

 

ชื่อผู้แต่ง

รวิวรรรณ   พลวิชัย           

ชื่อเรื่องภาษาไทย

ความเครียดในการปฏิบัติงานของพยาบาลห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร

 

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ

Work stress among nurses in emergency room in private hospitals in Bangkok Metropolis

 

ปีที่ดำเนินการ

2549

บทตัดย่อ

            ศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด และปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพยาลบาลห้องฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานประจำในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเอกชน ที่ขึ้นทะเบียนเป็นโรงพยาบาลขนาด 250 เตียงขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครปี 2550 จำนวนทั้งหมด 178 คน จาก 16 โรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามความเครียดสวนปรุง ชุด 60 ข้อ (SPST-60)ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ระดับความไวต่อความเครียด ส่วนที่ 2 ที่มาของความเครียด และส่วนที่ 3 อาการของความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีสถิติเชิงพรรณา Chi-square, Pearson correlation coefficiency, t- test และ Multiple linear regression analysis ตามความเหมาะสม ผลการศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพยาบาลห้องฉุกเฉิน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดในระดับรุนแรงคิดเป็น 16.9% ระดับสูง 28.7% และระดับปานกลาง 36.0% โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดเท่ากับ 27.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.92 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของพยาบาลฉุกเฉิน (p<0.01) คือ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงาน (p<0.05) ได้แก่ ปัจจัยสาเหตุเรื่องงานและปัจจัยสาเหตุด้านการเงิน เมื่อวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุพบว่า ตัวแปรที่สามารถอธิบายความเครียดในการปฏิบัติงานของพยาบาลฉุกเฉินได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.01 ได้แก่ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และปัจจัยสาเหตุด้านการเงิน (R[superscript 2] = 0.082)

Abstract

To explore the level of stress and its associated factors among nurses in emergency room in private hospital in Bangkok Metropolis. One hundred seventy-eight emergency nurses in 16 hospitals were the recruited subjects. The research instruments were a demographic questionnaire and Suanprung stress test (SPST-60). The data were analyzed using descriptive statistics, chi-square, Pearson correlation coefficiency, t- test and multiple linear regression analysis where appropriate. The result of the study of work stress among nurses in emergency room showed 16.9% of the subjects were at severe level, 28.7% at high level and 36% at moderate level with the mean score at 27.3 (S.D. 7.92). The only factor associated to the work stress (p<0.01) was relationship with coworkers while the factors associated to the work stress (p<0.05) were job assignments and financial. When multiple linear regression analysis was used, the result showed only two factors that could indicate their stressor (p<0.01) i.e. the relationship with coworkers and financial (R[superscript 2] = 0.082).




ิวิทยานิพนธ์นิสิตในเวลาราชการรุ่น 18

สุภาพร แสงอ่วม
สิทธิชัย ทองวร
ศิริวรรณ ทวีวัฒนปรีชา
ศิริวรรณ ทวีวัฒนปรีชา
วรากรณ์ จัตกุล
ปิยะพรรณ เอื้ออริยะพานิชกุล
นวพร ชิตมน
นฤมล ฝีปากเพราะ
ขวัญฤทัย อิ่มสมโภช
ดลฤดี แดงน้ำคู้



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509