ReadyPlanet.com
dot dot




ปณัสยา น้ำรัก

 

ชื่อผู้แต่ง

ปณัสยา  น้ำรัก    

ชื่อเรื่องภาษาไทย

ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีต่อเด็กออทิสติกของเพื่อนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในชั้นเรียนที่มีโครงการเรียนร่วมของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ

The knowledge, attitude and social relation to autistic children of secondary school students studying in inclusive education classroom of Kasetsart University laboratory school center for educational research and development, Bangkhen Campus

ปีที่ดำเนินการ

2549

บทตัดย่อ

\การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีต่อเด็กออทิสติกของเพื่อนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในชั้นเรียนที่มีโครงการเรียนร่วมของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน และปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และความสัมพันธ์ทางสังคม ประชากรตัวอย่างในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในชั้นเรียนที่มีโครงการเรียนร่วม ปีการศึกษา 2550 รวมทั้งสิ้น 235 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจ แบบสอบถามทัศนคติ และแบบสอบถามความสัมพันธ์ทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม SPSS ค่าสถิติที่ใช้ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ โดย t-test และ F-test (One way ANOVA) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และความสัมพันธ์ทางสังคม โดยใช้ Pearson’s product moment correlation coefficient และใช้ Enter Multiple Regression ในการหาปัจจัยทำนายความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และความสัมพันธ์ทางสังคม ผลการศึกษาพบว่า 1. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52.4) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับออทิสติกอยู่ในระดับดี ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์คือ การช่วยเหลือผู้อื่น และระดับผลการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การจัดกิจกรรมการเรียนร่วม และการได้รับข่าวสารความรู้เกี่ยวกับออทิสติก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

2. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.2) มีทัศนคติต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่เป็นเด็กออทิสติกอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ คือ เพศ, ความรับผิดชอบในโรงเรียน, การช่วยเหลือผู้อื่น, การได้รับข่าวสารความรู้เกี่ยวกับออทิสติก, การอธิบายจากครูเกี่ยวกับออทิสติก, การจัดกิจกรรมการเรียนร่วม, การได้รับการสะท้อนกลับเมื่อมีปัญหา และท่าทีของครูต่อเด็กออทิสติกในสายตาของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และประสบการณ์เกี่ยวกับเด็กออทิสติก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 67.7) มีความสัมพันธ์ทางสังคมต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่เป็นเด็กออทิสติกอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ คือ ความรับผิดชอบในโรงเรียน, การช่วยเหลือผู้อื่น, การได้รับข่าวสารความรู้เกี่ยวกับออทิสติก, ประสบการณ์การเรียนร่วมกับเด็กออทิสติก, การอธิบายจากครูเกี่ยวกับออทิสติก, การจัดกิจกรรมการเรียนร่วม และ การได้รับการสะท้อนกลับเมื่อมีปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และท่าทีของครูต่อเด็กออทิสติกในสายตาของนักเรียน และระดับผลการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. พบว่า ระดับผลการเรียน และการช่วยเหลือผู้อื่นเป็นปัจจัยทำนายต่อความรู้ความเข้าใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การจัดกิจกรรมการเรียนร่วม, การได้รับข่าวสารความรู้เกี่ยวกับออทิสติก, การได้รับการสะท้อนกลับเมื่อมีปัญหา, ท่าทีของครูต่อเด็กออทิสติกในสายตาของนักเรียน และความรับผิดชอบในโรงเรียน เป็นปัจจัยทำนายต่อทัศนคติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การจัดกิจกรรมการเรียนร่วม, ความรับผิดชอบในโรงเรียน, การได้รับการสะท้อนกลับเมื่อมีปัญหา และท่าทีของครูต่อเด็กออทิสติกในสายตาของนักเรียน เป็นปัจจัยทำนายต่อความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

The purposes of this study were to study knowledge, attitude and social relation to Autistic children of secondary school students studying in inclusive education classroom of Kasetsart University Laboratory School Center for Educational Research and Development, Bangkhen Campus, and to examine their relationships with personal factors. The study samples were 235 students of secondary school students studying in inclusive education classroom from the academic year 2007. They completed the questionnaires that consisted of demographic data, knowledge, attitude and Social Relation. Data was analyzed by using the SPSS for a personal computer package. Descriptive analysis consisted of mean, SD and range. Unpaired t-test, One-Way ANOVA and Pearson’s product moment correlation coefficient were to analyze association among factors. Enter multiple regression analysis was predicted knowledge, attitude and social relation. The main findings were as follows: 1. Most of students (52.4%) have knowledge and understanding of Autistic at a good level. The related personal factors are helpful manner and grade point average at statistically significant p<.01 and having ever received information about Autistic and inclusive education classroom activity at statistically significant p<.05. 2. Most of students (70.2%) have attitude toward Autistic disorder classmates at moderate level. The related personal factors are gender, responsibility in school, helpful manner, having ever received information about Autistic, getting description of Autistic from teacher, inclusive education classroom activity, problem solving, and manner of teacher with Autistic children in student at statistically significant p<.01 and having ever discussed with Autistic children at statistically significant p<.05. 3. Most of students (67.7%) have social relation with Autistic disorder classmates at moderate level. The related personal factors are being responsibility in school, helpful manner, having ever received information about Autistic, experienced in inclusive education classroom, getting description of Autistic from teacher, inclusive education classroom activity and problem solving at statistically significant p<.01 and manner of teacher with Autistic children in student and grade point average at statistically significant p<.05 . 4. It is found that the study result level and helpful manner are predictive factors against knowledge and understanding at statistically significant p<.05. Inclusive education classroom activity, having ever received information about Autistic, problem solving, manner of teacher with Autistic children in student and responsibility in school are predictive factors against attitude at statistically significant p<.05. Inclusive education classroom activity, responsibility in school, problem solving and manner of teacher with Autistic children in student are predictive factors against social relation at statistically significant p<.05.




ิวิทยานิพนธ์นิสิตในเวลาราชการรุ่น 19

สมพร เสือช้าง
เฟื่องฟ้า สีสวย
บุญมา พรชัย
ณัฐธิกา ศรีมกุฎพันธุ์
ฉันทนา แรงสิงห์
กนกพร จูพันทะ



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509