ประวัติภาควิชาจิตเวชศาสตร์
แต่เดิมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้บริการตรวจรักษาเฉพาะผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคทางกายเท่านั้น หากมีผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตใจมาขอรับบริการตรวจรักษาก็โอนไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทางจิต ส่วนด้านการเรียนการสอนวิชาจิตเวชศาสตร์สำหรับนิสิตแพทย์นั้นทำการสอนโดยจิตแพทย์ของโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะอาจารย์พิเศษ ซึ่งมีชั่วโมงสอนวิชาจิตเวชศาสตร์ตลอดหลักสูตรเพียง12-18 ชั่วโมง การเรียนการสอนนี้จัดขึ้นที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
|
หลังจากปีพ.ศ.2499มติที่ประชุมการศึกษาแพทยศาสตร์แห่งชาติครั้งที่หนึ่งที่บางแสนจังหวัดชลบุรี เห็นสมควรให้คณะแพทยศาสตร์ทุกคณะ มีอาจารย์จิตแพทย์ประจำเพื่อทำการสอนวิชาจิตเวชศาสตร์ในคณะแพทยศาสตร์ และมีแผนการว่าจะมีแผนกวิชาจิตเวชศาสตร์ขึ้นในคณะแพทยศาสตร์ทุกคณะรวมทั้งเพิ่มเวลาสอนให้มากขึ้นด้วยเหตุดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2500 ทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จึงจัดให้มีตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านจิตเวชศาสตร์สังกัดแผนกอายุรศาสตร์ขึ้น1 ตำแหน่ง และได้ส่งไปรับการอบรมวิชาจิตเวชศาสตร์ ที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เป็นเวลา 2 ปี
|
ปีพ.ศ.2502ได้เริ่มเปิดการให้บริการตรวจรักษาโรคทางจิตเวชแบบผู้ป่วยนอกของแผนกอายุรศาสตร์ พร้อมทั้งรับผู้ป่วยใน 1-2 เตียง ให้คำปรึกษาทางจิตเวชและช่วยสอนวิชาจิตเวชศาสตร์แก่นิสิตแพทย์ และในปีนี้เอง มีการปรับปรุงหลักสูตรจิตเวชศาสตร์เพิ่มชั่วโมงสอนเป็น 48 ชั่วโมงตลอดหลักสูตร หลังจากนั้นมีการส่งแพทย์ประจำบ้านคนที่ 2 ไปฝึกอบรมวิชาจิตเวชศาสตร์ที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เป็นเวลา 1 ปี
|
|
ปี พ.ศ. 2504
|
ทำการสอนวิชาจิตเวชศาสตร์แก่นิสิตแพทย์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
|
ปี พ.ศ. 2505
|
เปิดหอผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วยจิตเวชศาสตร์ ณ ตึกธนาคารกรุงเทพ มีเตียงรับผู้ป่วย จำนวน 8 เตียง นับเป็นหอผู้ป่วยทางจิตเวชในคณะแพทยศาสตร์แห่งแรกของประเทศ รวมทั้งให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นด้วย
|
ปี พ.ศ. 2510
|
มีแพทย์ประจำบ้านคนที่ 3 ไปรับการฝึกอบรมที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาเป็นเวลา 1 ปี
|
ปี พ.ศ. 2511
|
เพิ่มเตียงผู้ป่วยในหอผู้ป่วยเป็น 14 เตียง และจัดตั้งทีมจิตเวชขึ้นเป็นครั้งแรก ประกอบด้วยนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยาคลินิก และพยาบาลจิตเวช ซึ่งได้ปฏิบัติงานกว้างขวางขึ้น ทั้งในด้านบริการและการสอน รวมทั้งได้จัดตั้งหน่วยจิตเวชขึ้นในแผนกอายุรศาสตร์
|
ปี พ.ศ. 2512
|
กำหนดหลักสูตรให้นิสิตแพทย์ขึ้นปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย เป็นเวลา 2 สัปดาห์ มีอาสากาชาดมาช่วยปฏิบัติงานด้านการดูแลรักษา และมีการจัดตั้งแผนกประสาทวิทยาจิตเวชขึ้น
|
ปี พ.ศ. 2513
|
มีนักอาชีวบำบัดเข้าร่วมในทีมจิตเวช
|
ปี พ.ศ. 2515
|
สภาการศึกษาแห่งชาติลงมติให้หน่วยจิตเวชเป็นแผนกจิตเวชศาสตร์
|
ปี พ.ศ. 2516
|
ทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติให้มีแผนกจิตเวชศาสตร์ ในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ซึ่งประกาศเป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ในวันที่ 27 มิถุนายน 2516
|
ปี พ.ศ. 2516
|
เริ่มฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านทางจิตเวชศาสตร์ ตามโครงการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตร ผู้เชี่ยวชาญ ของแพทยสภา เปิดหลักสูตรสอนแพทย์หลังปริญญาเพื่อประกาศนียบัตรขั้นสูงทางคลินิก สาขาจิตเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
|
ปี พ.ศ. 2530
|
เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต
|
ปี พ.ศ. 2543
|
เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต (ภาคนอกเวลาราชการ)
|
ปี พ.ศ. 2544
|
เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตเวชศาสตร์
|
ปี พ.ศ. 2545
|
เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาจิตเวชศาสตร์ และสาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
|
ปี พ.ศ. 2549
|
ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิตภาคปกติ และภาคนอกเวลาราชการ
|
ปี พ.ศ. 2551
|
ปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาจิตเวชศาสตร์ และประกาศนียบัตรขั้นสูง สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวันรุ่น
|
ปี พ.ศ. 2554
|
ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิตภาคปกติ และภาคนอกเวลาราชการ ตามกำหนดเวลา (ทุก 5 ปี)
|